นิวตัน

      ในบทนี้เราจะมาอธิบายกฎทั้ง 3 ข้อของท่าน เซอร์ ไอเเซก นิวตัน โดยกฎทั้ง 3 ข้อนี้เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของเเรงที่กระทำบนวัตถุใดๆกับการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้นๆนะครับ ซึ่งกฎทั้ง 3 ข้อนี้มีผลต่อวงการฟิสิกส์เป็นอย่างมาก เเละเราจะนำกฎทั้ง 3 ข้อนี้มาประยุกต์ใช้ในการทำโจทย์กันนะครับ เรามาเริ่มกันเลยครับ

1) กฎของความสมดุล กล่าวคือ หากเราพิจารณาวัตถุที่กำลังหยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ 
เเสดงว่าเเรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุนั้นมีค่าเท่ากับ ศูนย์ หรือ ผลรวมของเเรงเป็นศูนย์นั้นเอง (εF = 0)
ซึ่งในการพิจารณาเเรงที่กระทำบนวัตถุนั้นเราจะพิจรณาเเรงตามเเนวการเคลื่อนที่เเละเเรงที่ตั้งฉากกับเเนวการเคลื่อนที่ในกรณีที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่ ส่วนในกรณีที่วัตถุหยุดนิ่งเราจะพิจรณาเเรงที่กระทำตามเเนวเเกน X เเละเเนวเเกน Y 
 
     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมดุลฟิสิกส์ต่อการเคลื่อนที่
       
       เราลองมาดูรูปด้านบนกันนะครับ เริ่มจากรูปซ้ายมือก่อนนะครับเราลองสังเกตุดูนะครับ สมมติว่าวัตถุนั้นหยุดนิ่งเเสดงว่าเเรงลัพธ์ทที่กระทำบนวัตถุนั้นมีค่าเท่ากับศูนย์ ในที่นี้คือเเรงที่กระทำทางซ้ายต้องเท่ากับเเรงกระทำด้านขวา วัตถุถึงจะอยู่นิ่งได้ เช่นเดียวกับรูปตรงกลางครับการที่วัตถุสามารถลอยอยู่นิ่งกลางอากาศได้นั้นเเสดงว่า เเรงที่กระทำขึ้นต้องมีขนาดเท่ากับขนาดของเเรงที่กระทำเเรงลงครับ ส่วนรูปทางขวามือ สมมติว่าวัตถุนั้นหยุดนิ่งอยู่บนพื้นเอียง เเสดงว่าเเรงที่ขนานกับพื้นเอียงเเละมีทิศทางลงสู่พื้นดินต้องมีขนาดเท่ากับ เเรงที่ขนานกับพื้นเอียงเเละมีทิศขึ้นไปด้านบนครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น